top of page
  • Line
  • Facebook
  • Instagram
  • TikTok

“เช็กให้ชัวร์! เป็นเริมทำฟันได้หรือไม่? เพื่อการทำฟันที่ปลอดภัยและมั่นใจ”

songkhunmorjudfun

โรคเริม: โรคที่พบได้บ่อยและควรรู้จัก

เริม เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เฮอร์ปีซิมเพลกซ์ (Herpes simplex virus) ซึ่งติดต่อได้ผ่านการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรง ลักษณะอาการเด่นคือ ผื่นตุ่มน้ำใส ที่มักปรากฏบริเวณริมฝีปาก พร้อมกับอาการแสบร้อนหรือคัน บางรายอาจมีไข้ร่วมด้วยเมื่อเป็นเริมแล้ว สามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด เนื่องจากเชื้อไวรัสจะซ่อนตัวอยู่ในร่างกาย และกำเริบขึ้นเมื่อภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ อย่างไรก็ตาม มีวิธีบรรเทาและป้องกันไม่ให้อาการกลับมากำเริบได้


รู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นเริม?

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีอาการดังต่อไปนี้:

  • แสบร้อนหรือคันบริเวณผิวหนังที่เคยติดเชื้อมาก่อน

  • ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว หรือมีต่อมน้ำเหลืองโต (ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ติดเชื้อ)

  • เกิด ตุ่มน้ำใส ซึ่งบริเวณที่พบบ่อย ได้แก่ ริมฝีปาก นิ้วมือ ใบหน้า หรือบริเวณอวัยวะเพศ


โรคเริมติดต่อได้อย่างไร?

ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงติดเชื้อไวรัสเริม ซึ่งสามารถติดต่อได้ง่ายผ่าน การสัมผัสโดยตรงกับแผลหรือผิวหนังที่มีรอยถลอก โดยแบ่งเป็นกรณีต่าง ๆ ดังนี้:


1.       การติดเชื้อบริเวณปากและใบหน้า

o   เกิดจาก การจูบ หรือใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ติดเชื้อ เช่น ผ้าขนหนู ลิปสติก ที่โกนหนวด หรือการไม่ใช้ช้อนกลาง

2.       การติดเชื้อบริเวณอวัยวะเพศ

o   เกิดจาก การมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะในผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นร่วมด้วย

o   ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือรับยากดภูมิต้านทานมีความเสี่ยงสูง


🦷 เป็นเริม ทำฟันได้หรือไม่?

เนื่องจากโรคเริมเป็นโรคติดต่อที่สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายผ่านการสัมผัสโดยตรงกับตุ่มน้ำใสหรือแผลในช่องปาก ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงทั้งต่อผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์ ดังนั้นหากผู้รับบริการทราบว่าตนมีอาการดังกล่าว จะไม่สามารถเข้ารับบริการทางทันตกรรมได้ต้องทำการเลื่อนนัดกับคลินิกทันตกรรม และรอให้อาการดีขึ้นหรือแผลปิดสนิทก่อนเข้ารับการทำฟัน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อและลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อน


🤝คำแนะนำก่อนเข้าพบทันตแพทย์

1.       แจ้งอาการ: บอกทันตแพทย์ว่าคุณกำลังมีอาการของโรคเริม เพื่อให้ทันตแพทย์พิจารณาแนวทางรักษา

2.       ดูแลสุขภาพช่องปาก: รักษาความสะอาดในช่องปาก แต่หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือแกะแผลเริม

3.       ใช้ยาตามแพทย์สั่ง: หากมีการกำเริบของเริม ให้ใช้ยาต้านไวรัสหรือยาบรรเทาตามคำแนะนำของแพทย์



 
 
 

Comments


bottom of page